5/28/2013

GROUP PLOT STYLES

    การออกแบบถนน Civil 3D ขั้นตอนการออกแบบถนนสมบููณ์ทุกขั้นตอนแล้วเสร็จช่วงสุดท้ายจะเป็นการพิมพ์รายงานของรูปหน้าตัด(Cross Section) เมื่อต้องการพิมพ์งานออกมากกว่าหนึ่งแผ่นงาน การจัดกลุ่มพิมพ์รายงานพร้อมกันทั้งหมดของแบบรูปหน้าตัดที่จะจัดเรียงเป็นแถวหรือในรูปแบบแนวการวางตัวของตำแหน่งรูปหน้าตัด Cross Section ซึ่งจะได้จากการจัดการ GROUP PLOT STYLES
   
Group Plot Styles – Plot By Page   
     
     Civil 3D การออกแบบถนน รูปแบบของตั้งค่ากระดาษที่พิมพ์งานของรูปหน้าตัด(Cross section) ที่จะจัดวางรูปแบบให้ได้ตามรูปแบบและมาตราส่วนที่ต้องการ ตามขนาดของกระดาษที่ตั้งค่าไว้ใน Planproduction การตั้งค่าจะมีสองส่วนประกอบใน

Array Panel
      
      Array Panel การจัดเรียงลำดับการวางตัวงานพิมพ์ที่จะออกมาของรูปหน้าตัดตามแถวแนวนอน(Row) และแนวตั้ง(Columns) รวมทั้งระยะห่างระหว่างช่วงของ รูปหน้าตัด ( Cross Section) เพื่อให้ได้จำนวนรูปในหน้ากระดาษที่เหมาะสมลงตัวกับมาตราส่วนที่กำหนดไว้ใน Plan production (Sheet Styles)

 Group Plot Styles – Plot By Page จุดเริ่มต้นจะอยู่ผนังทางด้านล่างมุมด้านซ้ายสุด(Low left corner) เป็นุกำเนิดที่จะสร้างรูปหน้าตัด การตั้งค่าที่เหมาะตรงกลางที่เหมาะสม(Centerline,Grid box) และรูปแบบแนวนอนและแนวตั้ง(Uniform Per Row, Column) ซึ่งจำนวนจะเหมือนกันทั้งแนวราบและแนวดิ่ง หรือให้ความกว้างเท่ากันหมด(Same width for all) ของรูปหน้าตัด(Cross Section) เหมือนกันทั้งแนวราบและแนวดิ่งของความกว้างสุดของกระดาษและความสูงสุดของรูปหน้าตัด

     

Plot Area Panel     
     Plot Area Panel การกำหนดระยะของกริดหลักและกริดรองของการตั้งค่าหน้ากระดาษ
     ในแต่ละแผ่นงานสำหรับงานพิมพ์รูปหน้าตัด


          
   
ขั้นตอนการตั้งค่า Group Plot Styles
    
     



   

  ขั้นตอนการตั้งค่า Group Plot Styles ซึ่งมาตราส่วนที่ใช้งาน การออกแบบถนน Civil 3D ในการจะย่อหรือขยายรูปหน้าตัดจะมีสัมพันธ์กับกระดาษที่เลือกใช้พิมพ์งาน รวมทั้งการจัดวางของรูปแบบแถบ (Band Data)  

5/26/2013

CREATING ROAD SECTIONS, Part 2

1 CREATE SECTION VIEW / CREATE MULTIPLE VIEWS
  
1.1 CREATE SECTION VIEW

     การสร้างรูปหน้าตัดข้อมูลที่แสดงใน Create Section View wizard หน้าแรกที่แสดงขึ้นมาจะประกอบด้วย Alignment, Section, Station, Sample linegroup,Section view name,Section view styles,และ Layer

    Home tab > Profile & Section Views panel > Section Views drop-down > Create Section View

1.2 CREATE MULTIPLE VIEWS
   การสร้างรูปหน้าตัดสำหรับข้อมูลที่แสดงใน Create Multiple Views uses หน้าแรกที่แสดงขึ้นมาจะประกอบเหมือนกับของ Create Section View แต่ส่วนที่เพิ่มขึ้นมา คือ Section placement

 Home tab > Profile & Section Views panel > Section Views drop-down  > Create Multiple Views 

Command Line

CreateSectionView
CreateMultipleSectionView 
 
2.  CREATE SECTION VIEW WIZARD (General Page)

  2.1 General Page หน้าแรกที่ขึ้นมาให้ตั้งค่าพื้นฐาน
    - Select alignment เลือกแนวเส้นทาง Defult เลือกแนวเส้นทางอื่นที่ต้องการสร้างรูปหน้าตัดปกติ
    - Sample line group name แนว Sample ที่สร้างขึ้นมาตาม Station หรือ Corridors
    - Station range ช่วงที่จะสร้างรูปหน้าตัด
         - Automatic ถ้าอัตรโนมัติความยาวจะได้ตามแนวเส้นทางราบที่สร้างไว้
         - User specified กำหนดช่วงที่ต้องการพิมพ์รูปหน้าตัด
    - Section view name ชื่อของรูปหน้าตัด
    - Section view layer ชื่อของ Section layer กรณี่ที่มีหลายสายจะมีชื่อต่อท้าย Layer
    - Section view styles รุปแบบของรูปหน้าตัด

                
 
2.2 Section Placement เงื่อนไขการเลือกใช้ Template ของ Sheet ใน Production 
     
                   
 
2.3 Offset range ระยะออฟเซททางตั้งตามแนวราบด้านซ้ายและด้านขวา ของรูปหน้าตัด ความยาวที่เลือกใช้จะต้องน้อยกว่าความยาวของแนว Sample Line และให้พอเหมาะกับมาตราส่วน ของแบบที่ตั้งไว้ในแต่ละหน้ากระดาษ

                    

 2.4 Elevation Range ช่วงความสูงของค่าระดับต่ำสุด สูงสุด ในรูปหน้าตัด
      
                     

2.5 Section Display เลือกให้เขียนรูปหน้าตัดของ Surface, Corridor, Ground Remove,Ground Fill

                      

2.6 Data Band เลือกเงื่อนไขของแแถบค่าระดับ (Band) และ Surface 1,Surface 2(Corridor Surface)

                       

2.7 Section View Table เลือกที่จะพิมพ์ตารางปรฺิมาณงานของวัสดุ รวมทั้งตำแหน่งที่จะจัดวางกรอบตารางของปรฺิมาณงาน Select table style เลือก Basic > Add ,และตรง Section view anchor เลือกตำแหน่งที่จะวางตารางปรฺมาณงาน


Create Section view เลือกตำแหน่งวางใน Drawing 
 

         

  


5/25/2013

CREATING ROAD SECTIONS, Part 1

     การออกแบบถนน สิ่งที่คำนึงถึงการของโครงการที่จะต้องหาองค์ประกอบหลายอย่างมารวมกัน เพื่อความเป็นไปได้ของโครงการหรือในขณะที่ทำการก่อสร้างต้องอาศัยรูปแบบที่จะต้องคำนวณหาปริมาณงานของการก่อสร้าง จาก การสร้างเส้น Profile ที่เป็นองค์ประกอบหลักและรูปหน้าตัด (Cross Section) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งทีต้องคำนึงถึงที่ต้องการใช้ประกอบในการทำงาน ซึ่งรูปหน้าตัดจะได้มาจากจะมีขั้นตอนการการปฏิบัติ คือ การสร้างรูปหน้าตัด (Create Cross Section)

      การสร้างรูปหน้าตัด(Create Cross Section) เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการหาปรฺิมาณของวัสดุ ซึ่งจะเป็นการกำหนดรูปแบบของรูปหน้าตัด(Section View) ที่จะวางตัวของรูปหน้าตัดในแต่ละแถวหรือหรือเรียงตัวของรูปหน้าตัดในแต่ละหน้ากระดาษแต่ละหน้าที่จะทำการพิมพ์(Sheet)

     รูปแแบบรูปหน้าตัด(Section View) มีองค์ประกอบของข้อมูลระยะออฟเซทและค่าระดับ สามารถที่จะวางตำแหน่งของรูปหน้าตัดและเรียกข้อมูลได้ตลอดที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล การที่จะได้รูปหน้าตัดที่เหมาะลงตัวกับของมาตราส่วนกับจำนวนของรูปหน้าตัดในแต่ละหน้ากระดาษ จะอาศัยการทดลองปรับการตั้งค่าของรูปหน้าตัด(Section View)

     การสร้างรูปแบบของรูปหน้าตัด ขั้นตอนการทำมี 2 วิธี คือ

     1. สร้างรูปหน้าตัดในโมเดล(Model space) รูปหน้าตัดในกรอบกระดาษที่ตั้งระยะห่างไว้ตามขนาดของกระดาษที่ทำการสร้างไว้ในชุดงานพิมพ์จะแสดงมาพร้อม รูปหน้าตัด Cross Section

      2. พิมพ์รูปทุกหน้าตัดในโมเดลโดยการใช้เลเอาร์(Lay out)พิมพ์งานทั้งหมด ซึ่งจะมีสองขั้นตอน ขั้นตอนแรกสร้างรูปหน้าตัดในโมเดล ขั้นตอนที่สองใช้การสร้างจาก Create Section Sheets command
      
การสร้างรูปหน้าตัด (Create Section View )
     
  Home tab > Profile & Section Views panel > Section Views drop-down > Create Multiple Views 

  
   

     The road design of what the design of the project to find many components together. The feasibility of the project or during the construction of the model requires to calculate the amount of construction. From  profile and  cross section is one important aspect that must be considered to be included in the work. Which section are derived from the process of the implementation is to create cross section.

     Creating a cross section is the last step before calculate raw materials. This will determine the form of the section view to the rest of the cross section in each row or arrangement of the cross section in each page to print each page.

      A section is a component of the phase offset and the scale. Able to position the cross section and retrieve any data that has changed. To get a cross section that fits perfectly to scale with the number of cross section in each section of the page. To the experimental settings of the section view.

     The form of a cross. There are two method to do this step.

     1. Create a section in the model space in the border on the paper as the paper size in the print set is shown with a cross.
     2. Publish every section in the model by using the layout to print all Which has two steps. The first step in creating a cross section model. The second step is the creation of the create section sheets command.

5/19/2013

SECTION VIEW - BAND STYLES

    ชุดรูปแบบแถบค่าระดับรูปหน้าตัด Band Sets
 
     Section View แสดงรูปแบบของรูปหน้าตัดที่มีเส้นกริดเป็นตั้งกำหนดรูปแบบของเส้นที่ได้จาก Surface และ Corridor ตำแหน่งที่จะแสดงสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะให้แถบค่า Station และ Elevation แสดงที่ด้านล่างหรือด้านบนของกริด

     การปรับปรุงและแก้ไขตัวหนังสือหรือรูปแบบลักษณะต่างๆ ของรูปหน้าตัดทำได้จาก Section’s Properties dialog box เลือกรูปแบบขนาดตามรายการที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข กรณีที่มีการสร้าง Section View โดยเลืกแถบ Band sets ทั้งด้านบนหรือด้านล่างแถบดังกล่าวจะไม่สามารถแสดงได้ มีทางเลือกทางเดียวที่จะให้แสดง Band sets ในหนึ่ง Section View

    Home > Toolspace > Setting tabs > Section views > Band Styles > Band Sets (Rigth Click) > Edit(New)

           
   
     หลังจาก Edit เลือก New, Dialog box ของ Section View Band Set – New Section View Band Sets จะปรากฎขึ้น(รูปประกอบด้านล่าง)

- Information ชื่อของแถบ New Section View Band Set
- Bands
     - Band types รูปแบบของแถบ
     - Location ตำแหน่งที่จะให้เขึยนแถบด้านบนหรือดานล่างของ Section View
Select band styles เลื่อนหรือขึ้นลงเพื่อเลือกหน้าตัดของ EG Elevation หรือ FG Elevation อื่นๆ และตั้งค่า Band Set Styles แล้วเลือก Add เพื่อแสดงในแถบค่าระดับของ Section View

           
  
  Band Set Styles
      Band Set Styles ใน Dialog box  จะมีผนังของรายละเอียด (Band Details) คูณสมบัติของตัวหนังสือ( Text Styles) ความสูง ตำแหน่งที่ให้แสดง ในผนังตรงกลางจะเป็นตัวกำหนด Labels and ticks ที่ตำแหน่งต่างๆของ Band ด้านบนขวามือจะให้กำหนดความยาวของขีดด้านข้าง (Trick size)

            
    
  เมื่อเลือก Labels and ticks  จากผนังตรงกลาง ลำดับขั้นตอนในการปรับปรุงแก้ไขให้เลือก Compose label… ด้านล่างขวามือสุด Dialog box แสดงรายการควบคุมข้อมูลที่จะปรับปรุงแก้ไข

             

Display tab แสดงชุดประกอบของ Section View Styles

         

5/13/2013

SECTION VIEW STYLES

  การตั้งค่าการตั้งค่ารูปหน้าตัด EDIT DRAWING SETTINGS เป็นการตั้งค่าที่ต้องการพิมพ์ของ Section View การตั้งค่าขั้นตอนคือ
Home > Toolspace > Setting > Section View > Section View  Styles > (Name Section View) > Edit 
 
                       
     
หลังจากที่ Edit Section View Section View  Styles  ที่เลือก Dialog box ปรากฎขึ้นมา

     Information แสดงชื่อของ Section View รายละเอียด รูปแบบและการเปลี่ยนรูปแบบ
     Graph แสดงการตั้งมาตราส่วน
                 - Vertical scale : Custom .ให้เลือกว่าจะใช้มาตราส่วนเท่าไหร่
                  - Currunt horizontal scale: มาตราส่วนที่ตั้งไว้ในตอนแรก Drawing Setting
                  - Vertical exaggeration ขนาดอัตตราส่วนแนวราบส่วนแนวตั้ง
         Grid ตรางแนวเส้นที่่เขียนสำหรับรูป Cross Section
            - Grid options เงื่อนไขการเขียนเส้นกริดมนแนวตั้งและแนวนอน
                 - Clip แนบเส้นกริด
                 - Omit ซ่อนเส้นกริดด้านนอก(บริเวณกรอบ)
             - Grid padding (major) กำหนดให้เขียนเส้นสูงสุด หรืดต่ำสุดจากค่าระดับ
             - Axis offset (plotted units)

                  

  Title Annotation ขนาดรูปแบบตัวหนังสือ(Text) และตำแหน่งของ Station    
 
                
     
    Horizontal Axis แกนระยะทางตามแนวนอนที่  Offset จาก Base lines ของกริด Major และ Minor เป็นเส้นในแนวดิ่ง พร้อมทั้งขนาดตัวหนังสือ(Text) ที่จะให้แสดงด้านบนหรือด้านล่างของ Section view 
                    
  
   Vertical Axis กำหนดค่าช่วงห่างของเส้นค่าระดับ Major และ Minor ซึ่งจะคล้ายกับของ Horizontal Axsis ค่ากำหนดจะเป็นมีค่าระดับกำกับตามเส้นที่ตั้งตามแนวนอน

                     
  
     Display แสดงชุดประกอบ Layer และ Color Line type ทั้งหมดที่ตั้งไว้ที่ต้องการให้แสดงตามตามปกติหรือต้องการเปลี่ยนค่าตามที่ต้องการให้แสดง

                    

ข้อแนะนำ การตั้งค่าของ SECTION VIEW STYLES จะมีผลและส่วนเกื่ยวข้องกับให้สัมพันธ์กับขนาดกระดาษที่จะใช้ในการพิมพ์งานที่ต้องการที่ต้องการกำหนดมาตราส่วน
 



5/11/2013

Cross Section, Part 2, รูปหน้าตัด

     การตั้งค่าและรูปแบบรูปหน้าตัด CROSS SECTION SETTINGS AND STYLES

     การตั้งค่าและรูปแบบของ Civil 3D นอกจากที่จะมีการตั้งค่าในครั้งแรกจากการเปิดหน้าต่างขึ้นมาของ Drawing สำหรับ รูปหน้าตัด Cross Section มีหลายวิธีซึ่งจะได้จากการตั้งค่าที่ Edit Drawing Settings dialog box

   การตั้งค่ารูปหน้าตัด EDIT DRAWING SETTING

     การตั้งใน Edit Drawing Setting dialog box จะมีผลกับค่าพื้นฐานของชั้นงานและองค์ประกอบต่างๆ กรณีที่งานโครงการหรือชั้นงานชื่อเดียวกันใน Drawing สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดคำนำหน้า(Prefix)หรือคำตามหลัง(Suffrix) ของชั้นงานของแต่ละโครงการที่จะแสดงใน Sample lines , Section, Section View
             
              

   หน้าตัด SECTION 

     หน้าตัด (Section) การตั้งค่าใน Section’s Edit Feature Settings dialog box จะเป็นการตั้งค่ารูปแบบของ Style สำหรับหน้าตัด ชื่อของรูปแบบ และชั้นงาน Existing Ground,Finish Ground ขั้นตอนการตั้งค่า คือ

Home tab > Toolspace > Setting tab Section > Section (Right click) >   Edit Feature Setting

                 
  
   การตั้งค่า Setting ของ Section จะได้จาก Section Styles ด้วยเช่นกัน 

         

   รูปหน้าตัด SECTION VIEW

        Section View’s Edit Feature Settings dialog box  กำหนดให้เลือกตั้งค่าชุดของรูปแบบ Default ที่จะแสดงของ Section View ของการพิมพ์งาน  การตั้งรูปหน้าตัด Cross Section ในนี้จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบแถบข้อมูลและตำแหน่งที่ปรากฎให้แสดง ชุดของรูปแบบการเขียนใน Section View ขั้นตอนการตั้งค่าจะคล้ายกับ SECTION

Home  > Toolspace > Setting tab Section > Section View (Right click) >   Edit Feature Settings 

          
  

5/07/2013

Sample Lines, Part 2

     การสร้าง Sample Lines ทำ รูปหน้าตัด Cross-section และหาปริมาณงานในระหว่างการทำข้อมูลจะมีการตรวจสอบและการแก้ไขเปลี่ยนแปลง Sample Lines เพื่อให้ได้รูปแบบและข้อมูลที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์
     1. REVIEWING AND EDITING SAMPLE LINES
       การตรวจสอบ Sample Lines และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยเคลื่อนย้าย สำเนา ลบ หรือการแทนที่ข้อมูล ซึ่งจะอาศัยการ Edit Sample Line dialog box  ซึ่งใน Drawing จะใช้การ Grips เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งหรือความยาวของ Sample lines 
       
ขั้นตอนการการตรวจสอบและการแก้ไข Sample lines
     Modify > Profile & Section Views panel > Sample Lines
     หรือ  Home > Toolspace > Prospector  tabs > Alignment > Sample line Groups > <Select Sample Collection > > Properties > Edit
      
2. SAMPLE LINE GROUP PROPERTIES
     แสดงแนว Sample lines ที่สร้างตามช่วงของ Station หรือ แนว Sample lines ที่ได้จากการสร้างจากแนวของ Corridor ประกอบด้วย 5 แถบคือ
     
         2.1 Information แสดงชือกลุ่ม Sample line และรายละเอียด
         2.2 Sample Lines แสดงแนว Sample lines ที่ได้สร้างขึ้นสามารถที่จะแก้ไขรูปแบบของ Group labels styles
         2.3 Section แสดงรายการของหน้าตัดรวมทั้งเพิ่มข้อมูลรายการ Sample more sources ของพื้นผิว Surface, Corridor และ Pipe’s
         2.4 Section Views แสดงรายการรูปหน้าตัดของกลุ่มที่เลือก Sample
         2.5  Material List แสดงรายการวัสดุ เงื่อนไข ปริมาณ ค่า Factor สำหรับการคำนวณหาปริมาณงาน 
     
      3. SAMPLE LINE PROPERTIES
          Sample Line Properties dialog box’s tabs จะแสดงชื่อ Sample line,Alignment ,Number และ Station ที่รวมกันในชุดของ Sample line และข้อมูลของรูปหน้าตัด

                  

5/04/2013

Sample Lines

     การสร้าง รูปหน้าตัด Cross-section เพื่อใช้ในการหาปริมาณวัสดุรวมทั้งการแสดงรูปแบบของหน้าตัดทั้งทางด้านซ้ายและทางด้านขวาตามแนวของ Base lines ตลอดแนวยาวตามช่่วงที่ต้องการ ขั้นตอนทีจะกำหนดรูปแบบ Cross section ข้อมูลที่ได้ต้องอาศัยการสร้าง Sample lines            
     Sample lines(SLG) แนวที่สร้างขึ้นมาตามแนว Base line จะเป็นสิ่งที่จะแสดงข้อมูลของรูปหน้าตัดที่เกิดจากการประมวลผลขององค์ประกอบ  Surface(s),Corridors,Corridor Surfac(s),and Pipe network(s)

     Creating a cross-section for the determination of the materials, including the form of the cross on the left and right side of the base lines. Steps to configure cross section data are required to create Sample lines.
     Sample lines (SLG) line was create along the base line data will be display of a cross section of the processing elements of Surface (s), Corridors, Corridor Surfac (s), and Pipe network (s).

 Create sample lines
    1.Home tab  > Profile & Section Views panel’s  > Sample Lines 
            
                 

 2. Select Alignment or Right click 

                   

   OK , Dialog box จะปรากฏ Sample Line Tools, Create Sample Lines Group    
      
3. Create Sample Lines Group
      3.1 Name ใส่ชื่อ Sample line

                   

      3.2 Sample lines Styles , Sample lines label styles เลือกตั้งค่ารูปแบบซึ่งจะตั้งก่อนหรือหลังจากการจากเลือก Alignment สำหรับ Sample lines label styles จะมีสามรูปแบบให้เลือกแสดงใน Drawing คือ Section Marks # - # , Section Name, Section Name and Marks  
           การเลือกตั้งค่า
          3.2.1 Home tab  > Toolspace > Setting tab > Sample line > Label Styles > Edit

                     

         3.3 Select data sources to sample เลือกข้อมูล Surface , Corridor ที่ต้องการ Sample , OK
                   
   4. Create sample lines
       Corridor Stations dialog box ปรากฏขึ้นมาให้เลือกใส่ข้อมูล Sample line

                

     - Station Range เริ่มต้น Station แรกและ Station สุดท้าย
          True สำหรับจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดตามความยาวของ Alignment
           False สำหรับจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดตามแนวของ Alignment ช่วงที่ต้องการกำหนด หรือเลือก Sample
     - Left Swath Width ความกว้างแนว Sample ด้านซ้าย
     - Right Swath Width ความกว้างแนว Sample ด้านขวา
     - Sampling Increment : ระยะห่างที่เพิ่มขึ้นระหว่าง Station
     - Additional Sample Controls : เพิ่มเติม Station นอกเหนือจากที่ได้เลือกไว้แล้ว 

     ข้อมูลใส่ค่าเรียบร้อย OK  >  Enter
   
5. Sample lines on the drawing สร้างขึ้นมาแสดงใน Drawing

    
           



5/03/2013

Cross Section,รูปหน้าตัด

     การออกแบบถนน Civil 3D งานวิศกรรมโยธา ที่ใช้โปรแกรมการสร้างพื้นผิว(Surface) ที่ได้มาจากการสำรวจ ในระหว่างการออกแบบจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการออกแบบ ที่ได้มาจากแนวเส้นทางราบ(Alignment) รูปหน้าตัดตามแนวยาว(Profile) เพื่อนำมาเปรียบเทียบปริมาณของวัสดุซึ่งจะนำมาประกอบการพิจารณาออกแบบ รวมทั้งการนำข้อมูลทางด้านซ้ายและทางด้านขวามาประกอบการพิจารณากับความหนาของวัสดุของแต่ละชั้นงาน การนำข้อมูลที่ได้ดังกล่าวมาประกอบ คือ รูปหน้าตัด Cross Section

     รูปหน้าตัด Cross Section เป็นรูปที่สร้างขึ้นมาแสดงให้เห็นพื้นที่หน้าตัดจากศูนย์กลางของ Base line หรือ Alignment (Center line) ที่ระยะ Offset ทางด้านซ้ายมือระยะทางเป็นลบและทางด้านขวามือระยะทางเป็นบวกเสมอ เริ่มต้นจากค่า Station ที่มีค่าน้อยไปหา Station มากตามลำดับ ในงานออกแบบถนนจะยึดถือเอาด้านที่ติดถนน Main เป็นหลักในการเริ่มจุดเริ่มต้นในการก่อสร้างโครงการและสำหรับงานสำรวจทางด้านชลประทานจะให้แนว Base line ไปตามทิศทางการการไหลของลำน้ำ

     รูปหน้าตัดของงานออกแบบด้วย Civil 3D มีจุดประสงค์หลักแยกออกเป็น 2 ประการ คือ
1. เขียนรูปหน้าตัด
2. คำนวณปริมาตรของงานจาก Corridor

     การเขียนรูปหน้าตัดที่สมบูรณ์เพื่อนำมาประกอบการคำนวณปริมาณจะอาศัย Datum ที่สร้างขึ้นมาจาก Corridor เปรียบเทียบระดับพื้นผิว Surface ที่ได้สร้างไว้มาประกอบกันหาปริมาณของวัสดุแต่ละชั้นงาน 

    การสร้างรูปหน้าตัด Cross Section ตลอดแนว Base line สามารถที่จะกำหนดระยะห่างเท่ากันของแต่ละ Section ตามที่ต้องการตลอดแนวที่กำหนดหรือสามารถที่จะแทรกรูปหน้าตัด  เพิ่มเติมตามที่ต้องการรวมทั้งการกำหนดระห่างจาก Base line หรือ Swath width ของ Section จากการตั้งค่าการใช้งานตามที่ต้องการ ซึ่งจะแสดงให้เห็นระดับตามขอบเขตของพื้นผิว

     รูปหน้าตัด Cross Section ที่ได้จากการสร้างขึ้นมาจะแสดงตาม Station หรือจะกำหนดตามหมายเลขจากการ Sample line รวมทั้งสามารถที่จะกำหนดให้แสดงแต่ละพื้นผิว Surface ของแต่ละกลุ่มจุดสำรวจ อาทิเช่นงานทางด้านการก่อสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ ที่มีการขุดเปิดหน้าดิน งานดินขุด งานดินขุดยาก งานระเบิดหิน ที่จะแสดงให้เห็นการซ้อนกันของ Surface แต่ละชั้นซึ่งจะนำมาคำนวณหาปริมาณของวัสดุแต่ละชนิดจากพื้นที่ของรูปหน้าตัด Cross section ซึ่งถือว่าการสร้างรูปหน้าตัด Cross section ต้องอาศัยการสร้าง Sample line

    
        
     Design of civil engineering. Civil 3D design software used to create the surface derived from the survey. During the design changes have improved the design. Derived from the Alignment a longitudinal section in order to compare the amount of material which can be attributed to the design. The data on the left and right side into consideration the thickness of each layer. The data can be attributed to the cross-section.
   
     The Cross Section is created shows cross-sectional area of ​​the center of the Base line or Alignment (Center line) at a distance offset left distance is negative and the right distance is always positive. Starting from the station with the ascending station are respectively in the road design will take the side of the road,The main starting point for the construction project and for pioneering work on the irrigation to the Base. line in the direction of the flow of the river.

     The cross-sectional design with Civil 3D's primary purpose is separated into two kinds.
1. Cross Section
2. Calculation of the volume of the Corridor .

     The cross section to bring the volume to the datum created a Corridor Surface to surface level that was created to determine the amount of composite materials for each class.

     The creation of a cross section along the cross section base line to determine the equally spaced along the section as required or able to insert a page break. Additional requirements, including the payment of the Base line or Swath width of the Section of the settings as required. Which shows the extent of the surface.

     Cross Section from a cross formed by the station will be determined by the number of the sample line and can be set to display the surface textures of each survey. Work such as the construction of dams or reservoirs. With open trenching, earthwork excavation,soft rock excavation, explosions rock shows overlapping Surface layer which is used to calculate the amount of each material, type of area of ​​a cross section is considered. the creation of a cross section requires the sample line.