3/19/2013

จุดสำรวจ, Survey Point

     การออกแบบงานทางด้านวิศกรรมโยธาที่ดำเนินการในภาคสนาม หลายอย่างอาศัยการสำรวจเก็บข้อมูลของงานที่จะดำเนินการก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งต้องอาศัยการสำรวจ(Survey) ภาคพื้นสนามเป็นหลัก โดยการกำหนดค่าพิกัดของตำแหน่งที่จะจัดเก็บข้อมูลขึ้นมา อาจจะได้จากการสมมุติขึ้นมาก่อนเพื่อนำมาใช้งานหรือจากการรังโยงยึดเข้ามา รวมทั้งการได้จากการใช้เครื่องรับสัญญานจากดาวเทียม(GPS) เพื่อได้มาของตำแหน่งพิกัดฉากนั้นหรือเรียกว่า จุดสำรวจ (Survey Point)
 
     การประมวลผลของโปรแกรม การออกแบบถนน   Civil 3D อาศัยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในสนามมาทำการนำเข้าจะเป็นจุดพิกัดตำแหน่งของข้อมูลที่จัดเก็บในสนาม รูปแบบของการนำจุดสำรวจเข้ามีหลายรูปแบบแต่วิธีที่สะดวกของข้อมูลที่รังวัดจัดเก็บได้ในสนามคือ *.CSV

    The design of the civil engineering field. Many of the survey data. Work to be carried out prior to construction. Which requires a field survey region. The determination of the coordinates of the location to store the information. May be obtained from the previously assumed to be linked to or from the nest into. Including the use of the signal from the satellite (GPS) to get the coordinates of a scene or a survey.

      Civil 3D application processing the results obtained from the field in the import will be the location of the data collected in the field. The format of the survey type, for convenient methods of survey data collection in the field is *. CSV.


                             CSV Format

การตั้งค่าจุดสำรวจ Point Styles
     การแสดงผลรูปแบบของจุดสำรวจได้จากการตั้งค่าจุดสำรวจในการใช้งานเริ่มต้นซึ่งคำสั่งจะอยู่ที่ Toolspace หรือการแสดงผลของจุดสำรวจจาก Create Points toolbar

     1. "Home " > Toolspace > Setting > Point > Point Styles
           เลือกรูปแบบ Point ที่ต้องการสร้างขึ้นมาใหม่ Riht click ที่ Point Styles > New

           
 2. Information tab > Name " ใส่ชื่อ Point Styles ที่ต้องการสร้าง "

                
3. Marker tab
    - Custom marker เลือกรูปแบบ Point Styles
    - Size ปรับขนาดของ Point Styles

                                        
4. Display แสดงสีของ Point Styles

 
   OK ประกฎ Point Styles ที่สร้างขึ้นมา
 
รูปแบบของจุด Point Style

     รูปแบบสำรวจแบบมาตรฐานและแบบพื้นฐานเป็นรูปแบบที่สะดวกและนิยมที่ใช้มากที่สุดในโปรแกรม Civil 3D ซึ่งมีลัฏษณะเครื่องหมายรูปกากบาท( Marker)
     รูปแบบแสดงของ AutoCad จุด (node) ลักษณะ(pdmode)  และขนาด(pdsize) เครื่องหมายจะมีลักษณะคล้ายของ AutoCad  รูปแบบตั้งแต่รูปเครื่องหมายบวกถึงเครื่องหมายวงกลมสามารถเพิ่มหรือลดขนาดให้แตกต่างกัน ตามต้องการของู้ใช้งาน

                           Point Style_Marker

การนำเข้าจุดสำรวจ Import Point Data
 การนำเข้าหรือการสร้างจุดสำรวจเพื่อการประมวลผลมีหลายวิธีที่จะนำข้อมูลเข้ามายัง Civil 3Dโดยการเลือกจาก Ribbon Munu,Toolscope และ Ribbon Gogo Point หรือจาก Modify Point
                       Home  
                                    Insert
                     Cogo

ขั้นตอนการนำเข้าจุดสำรวจ  

  1."Home" ที่ Create Ground Data Bar "Point" > Point Creation Tools หรือเลือก Ribbon Menu > Insert > Point from file

              

  2.Seleted Files: เลือก Directory File ที่จะนำเข้าใช้งานกรณี File นั้นรูปแบบถูกต้องหรือไม่ใด้ถูกเปิดใช้ งานชื่อของ File Name จะแสดงและมีเครื่ิงหมายถูกแสดงขึ้นข้างหน้า
 3.เลือกรูปแบบของ File ที่จะนำเข้า (Specify point file format) จากรูปด้านบนตาราง Excel เลือก PNEZD(comma delimited)
 4.Tick ช่อง Add Points to Point Group ที่สร้างขึ้นมาซึ่งถ้ามีการแยก Group ไว้ก่อนจะสะดวกในการสร้าง Surface    
      OK

                                           Import File
ทำการ Zoom Extend โดยที่ Comand line พิมพ์ ZE ข้อมูลจุดสำรวจที่ได้จะถูกนำมาแสดงใน Drawing ที่เราสร้างขึ้นมาซึ่งถ้าขนาด Point Styles ที่ถูกนำเข้าไม่ตรงตามต้องการให้ทำการปรับที่ Point Style ตามข้อ 3 และ ปรับรูปแบบ Description Key
ข้อแนะนำ
1 ชื่อของ File ในกรณีที่ทำงานโครงการขนาดใหญ่ อาทิเช่น งานเขื่อน งานเหมืองแร่ งานถนน ซึ่งเรา      ต้องนำ File งานมาทำต่อเนื่องกันตลอดระยะเวลาทำงาน ชื่อของ File งานควรเป็นรูปแบบของ Code ตามด้วยปีเดือนวัน
2 การนำเข้า Point ของรูปแบบ .CSV(Comma Delimited) ทีได้จาก Excel จะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดและสะดวกในการลำดับหมายเลขจุด ปรับแก้ค่าระดับความสูงในกรณีใส่ความสุงของหมุด ความสูงของกล้อง ความสูงของ Pole ไม่ถูกต้องรวมทั้งการใส่  Description key sets
3 การตั้งหมายเลขของจุด (Cogo Point Numbering ) ควรมีการตั้งกำหนดใว้ก่อนหลังจากประมาณการจำนวนจุดทั้งหมดไว้เป็นมาตรฐาน
     หมายเลข         1 – 999  หมายถึง หมายเลขจุดบังคับควบคุมและขอบเขต   (Control Points and Boundary)
     หมายเลข 1,000 – 19,999 หมายถึง หมายเลขจุดสำรวจภูมิประเทศ (Topography Points)
     หมายเลข 20,000 – 2,9999 หมายถึง หมายเลขจุดปักหลักและหมุดแก้ไขปรับปรุง (Staking and As-Built Points)
     หมายเลข 30,000 – ขึ้นไป หมายถึง หมายเลขหมุดของงานออกแบบ (Design)
4 การตั้งค่า Description Key ควรมีการตั้งค่าไว้ก่อนและเป็นมาตรฐานเช่นเดียวกัน
5 หมุดหลักและจุดสำคํญที่นำเข้าหรือที่จะ Staking ควรมีการ Point Lock ไว้ทันทีที่ดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.