6/29/2013

SECTION REPORTS รายงานรูปหน้าตัด

     Secrion Reports รายงานรูปหน้าตัด เมื่อมีการ ออกแบบถนน Road Design สร้างแนวเส้นทางราบ(Horizontal Alignment) กำหนดค่าระดับตามแนวยาวถนน(Profile) และการสร้างรูปหน้าตัด(Cross Secton) ที่ได้มาจากการรวมตัวกันของส่วนประกอบโครงสร้างถนน(Subassembly) ซึ่งรูปหน้าตัดนี้การแสดงรายงานจะแสดงระยะ ระดับ ของจุดตัด(Point),เส้นเชื่อม(Link), และ พื้นผิว Surface ซึ่งในรูปหน้าตัดจะแสดงที่ได้จากรายงานจะแสดงให้เห็นใน Feature Line

    การสร้างรายงานรูปหน้าตัด Create Section Report

Slope Stake Report 

รายงานแสดงรูปหน้าตัดและจุดสิ้นสุดของลาดคันทางที่ได้มาจาก Corridor

Home > Toolspace > Toolbox tab > Reports Manager 

          Report Manager > Slope Stake > Report >Right click > Execute 

- Dialog Box ปรากฎขึ้นมา
     - Select Corridor เลือกในกรณีที่มีหลาย Corridor เลือกที่สร้างไว้ใช้กับ Alignment นั้นๆ
      - Select sample line group เลือก Sample line
      - Select Aligment เลือกแนวเส้นทาง
      - Select corridor link เลือกชั้นโครงทางถนน และกดที่เครื่องหมาย บวก +  

  Report Settings     

     กำหนดช่วงที่ให้รายงานข้อมูลของ รูปหน้าตัด( Cross Section) ปกติ Default ของข้อมูลจะแสดงขึ้นมาจากจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด หรือถ้าต้องการรายงานข้อมูลเป็นช่วงระยะ
       - Start Station  สถานีแรกที่ต้องการรายงาน
       - End Station สถานีสุดท้ายที่ต้องการรายงาน
 
                     
     เมื่อเลือกค่าเรียบร้อย Create Report

                   

   Section Point Report 

     รายงานรูปหน้าตัด(Section Report) ของ Corridor ที่แสดงออกมาในแต่ละจุดในระบบแกนพิกัด(X,Y,Z) รายงานจะแสดงรายการรหัสของจุด(Point Codes) ของงานโครงสร้างทางในชั้นต่างๆ ซึ่งข้อมูลนี้สามารถที่จะนำไปบันทึกในเครื่องมือสำรวจเพื่อใช้งานในระหว่างการก่อสร้างโดยเฉพาะในงานก่อสร้างคันทางที่ต้องการงานดินตัดและงานดินถมในเบื้องต้น

                   

  เลือกชั้นงานต่างๆของโครงสร้างทาง และใส่ค่าสถานีที่ต้องการารยงาน เมื่อใส่ค่าเรียบร้อย Create Report

              

    สำหรับการทำงานในภาคสนามการในงานที่ต้องการความระเอียดที่ต้องใช้กล้องระดับให้ระดับหลังถนน(Slope Stake) ช่างสนามที่ให้ระดับจะใช้เครื่องคำนวณในการทำงานภาคสนามพร้อมกับข้อมูลของระดับและลาดคันทางของงานก่อสร้างถนนแต่ละสถานีในรูปแบบของตาราง

              

6/22/2013

QUANTITY TAKEOFFS AND REPORTS ปริมาณวัสดุ

     การออกแบบถนนรวมทั้งการออกแบบทางวิศวกรรมโยธาด้านที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโปรแกรม Civil 3D ด้านอื่นเช่นการออกแบบด้านชลประทาน งานก่อสร้างเขื่อน งานขุดเปิดเหมืองแร่ งานก่อสร้างสนามบิน เป็นต้น ขั้นตอนสุดท้ายของงานการออกแบบเหล่านี้สิ่งที่ต้องการคือ ปริมาณวัสดุ

     การคำนวณหาปริมาณงานของวัสดุจากรูปหน้าตัดของ Corridor และส่วนประกอบโครงสร้างของถนน Subassemblies ซึ่งจะได้ออกมาเป็นปริมาณงานดิน วัสดุชั้นรองพื้นทางและชั้นพื้นทาง ปริมาณของพื้นผิว(Surface)เมื่อนำมาทำการคำนวณการเปรียบเทียบของระดับดินเดิม(Existing Ground) กับ Datum ก็จะได้เป็นปริมาตรงานดินตัดและดินถมตามแนวเส้นทางราบ(Horizontal Alignment)

     การคำนวณปริมาตรจะต้องมีการมีการกำหนดบรรทัดฐานของงาน โดยการตั้งค่าเบื้องต้น ตั้งค่าในแต่ละชั้นของวัสดุซึ่งสามารถที่จะกำหนดให้ออกมาเป็นชุดของงานดินหรือปริมาตรของวัสดุทั้งหมด

     Road design, including the design of civil engineering aspects associated with the Civil 3D applications such as the design of the irrigation construction of the dam. Open cut mining operation. Construction on the final stages of design these things like the amount of material

     
To calculate the amount of material from the surface of the structure and components of the Corridor. Subassemblies. Which will have a fair amount of soil. Material and priming the surface. The amount of surface when compared to the calculation of the existing ground level  with datum would be soil cutting and filling volume of the soil along the horizontal alignment.

     
The volume has to be calculated with the norms of the work. By setting preliminary Set each layer of material which can be defined as a set of tasks, or the volume of the material.

 
    รูปหน้าตัด(Cross Section) ที่ใช้ในการปริมาตรของวัสดุมีวิธีการคำนวณทั้งหมด 3 วิธี คือ

     1.Average End Areas
     2. Prismoidal
     3.Composite

     เปรียบเทียบทั้งสามวิธีที่ใช้ในการคำนวณหาปริมาณของวัสดุที่แตกต่างกันมีความเหมาะสมของงานแต่ละรูปแบบ ดังนี้

     1 Average End Areas เป็นวิธีที่มีรูปแบบตารางที่ตรวจสอบง่ายเป็นที่ยอมรับและถูกต้องที่สุดของงานออกแบบและก่อสร้างถนน ซึ่งมีรูปร่างของรูปตัดที่เหมือนกันหรือคล้ายกันตลอดเวลา  
     2 Prismoidal วิธีที่ดีที่สุดใช้สำหรับรูปหน้าตัดที่มีลักษณะของภูมิประเทศ(Terrain)  มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างไม่สม่ำเสมอ ซึ่งแนวทางที่ดีต้องมีการเพิ่มจำนวนความถี่ของ Sample lines
     3.Composite วิธีที่เหมาะสำหรับลักษณะที่ตั้งพื้นผิวของภูมิประเทศมีลักษณะซับซ้อน ซึ่งจะใช้หางานขุดเปิดอย่างเช่น งานขุดฐานเขื่อน งานขุดเปิดเหมืองแร่ การหาปริมาณวัสดุกองรวม(Stock Pile) เป็นต้น วิธีการสุดท้ายจะหาได้เฉพาะปริมาณมวลรวมกันทั้งหมด
 
    Comparison of three methods used to calculate the amount of different materials are appropriate for each form.

      1 Average End Areas table format is an easy check is accepted and the most accurate of the design and construction of roads. The shape of the same or similar time.

      2 Prismoidal best method for a section where the characteristics of the terrain has changed quite uneven. The better approach is to increase the frequency of Sample lines.

      3.
Composite ideal way to look at the surface of a complex terrain. Which will be used for the excavation as Excavation of the dam. Open cut mining operation. Determination of the total material (Stock pile) The method of calculating this will last for only a total amount of mass.

MATERIALS  

     เมื่อมีการคำนวณหาปริมาณวัสดุจากส่วนประกอบโครงสร้างถนน(Subassembly) งานวัสดุจะได้จากผิวของจราจรในชั้นที่ 1,ชั้นที่ 2 ,ชั้นรองพื้ทาง,ชั้นพื้นทาง,ขอบคันทาง

EARTHWORKS 

     การหาปริมาตรงานดินซึ่งจะได้จากการเปรียบเทียบสองพื้นผิว(Surface) ที่มีค่าระดับแตกต่างกันโปรแกรม AutoCad Civil 3D การออกแบบถนน ในรูปหน้าตัด(Section)สามารถที่จะระบาย(Hacth)พื้นที่ของงานดินตัดและงานดินถม ปริมาณงานจะอ้างอิงมาจากเส้นระดับ Existing Ground และเส้นของ Datum

CUT AND FILL

     ขั้นตอนของงานที่ได้รับการตรวจสอบกลั่นกลองซึ่งจะใช้ในการ Hacth พื้นที่ซึ่งจะใช้กันมากในงานการออกแบบถนน(Road Design)

ขั้นตอนการหาปริมาณ Materials

Process of quantification.

1. Analyze tabVolumes And Materials panelCompute Materials 
    หรือ Menu  >> Sections menu Compute Materials
    หรือ Command Line >> ComputeMaterials

               

2.Dialog box ปรากฎขึ้นมา,Select Sample Line Group field. เลือก Sample line group หรือ click

เลือกจาก Drawing แล้ว OK

              

     3. Quantity Takeoff Criteria เลือกคำนวณวัสดุและวิธีเพิ่มจากที่มีอยู่แล้ว
     4. Volume Calculation Method จากข้างต้นกำหนด3 วิธี เลือกรูปแบบวิธีการคำนวณ
     5.Curve Correction Tolerance (Optionally) ตัวเลือกจะคงไว้หรือจะปรับค่า
    
             

     6. OK ตอบตกลง เมื่อได้กำหนดวิธีการเสร็จแล้ว โปรแกรม Civil 3D จะทำการคำนวณหาปริมาณทั้งหมดของวัสดุ

     OK, The program can determine how Civil 3D to determine the total quantity of material.

    7. Analyze tab  Volumes Report จะปรากฎ Dialog box,Report Quantities
     - Select Alignment เลือกแนวเส้นทางราบ
     - Select Sample lines group
     - Select material list เลือกรูปแบบตารางที่จะแสดง earthwork,Masshual Materials,Select Material
   
            

     OK ตอบตกลง หลังจากได้เลือกแล้ว
     ตารางปริมาณของวัสดุที่เลือกจะแสดงขึ้นมาในรูปแบบของ Explorer และสามารถที่จะนำไปวางในตารางของ Excel

     OK after being selected.

      The amount of material to be displayed in the Explorer, and can be placed in the table of Excel.

    
     QUANTITY REPORTS

    เมื่อได้ทำการหาปริมาณของวัสดุแต่ชั้นของวัสดุแต่ละชนิดเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนที่แสดงงานที่จะเสนอ(Submit) ปริมาณงานจะออกมาในรูปแบบของตาราง

     Determine the amount of each type of material, but the material successfully. Steps to offer jobs (submit) workloads will be in the form of a table.

          



6/15/2013

MULTIPURPOSE CODE STYLES รูปแบบรหัสอเนกประสงค์


     เมื่อมีการสร้าง Section view and section label styles ส่วนขยายคำอธิบายประกอบของ การสร้างพื้นผิว Surface จะแสดงคำอธิบายชุดประกอบหรือองค์ประกอบโครงสร้างถนน(Corridor assembly) จากรูปแบบทั่วไปรวมทั้งรหัสของจุดเชื่อมที่อยู่รวมกันในรูปหน้าตัด ซึ่งรหัสของจุด(Code)จะอ้างอิงถึง Subassembly points, links, and shape ที่แสดงออกมาทางสํญลักษณ์ ถึงแม้ว่าชุดประกอบโครงสร้างถนนจะมีหลายรูปหน้าตัดแต่รหัสของจุดเชื่อมต่อที่ปมสามารถที่จะใช้ตลอดแนวที่แสดงออกมาตลอดแนวตาม รูปหน้าตัด (Cross Section)   ซึ่งในส่วนนี้จะมีความสัมพันธ์กับการสร้างรูปส่วนประกอบโครงสร้าง(Subassembly)ถนนที่สร้างขึ้นมาให้แสดงออกมาของรูปหน้าตัด

CODE SET STYLES
 
     Code Set Style รหัส(Code) ที่ปมของจุดที่จะเชื่อมต่อกันก่อให้เกิดรูปร่างของเส้นล้อมรอบแนว Assemblies ซึ่งทั้งหมดของจุด(Point) เส้นเชื่อม(Link) และรูปร่างของรหัส(Shape assembly codes) ซึ่งทั้งหมดจะแสดงรายระเอียด รูปแบบ สัญลักษณ์ และการพื้นผิวของวัสดุ(Render Material) ในแนวตั้งรูปแบบ(Styles) จะป็นตัวกำหนดว่าข้างต้นต้องทำอย่างไรที่จะให้แสดงออกมาในรูปแบบต่างๆใน Drawing

1. " Home tab” ➤ Toolspace ➤ Setting tab
2. General Codde Set Styles All Codes (right click) Code

    

CODE LABEL STYLE 

     Code label styles จะมีผลกับจุด(Point) เส้นเชื่อม(Link) รูปร่างของวัตถุ (Shape) ซึ่งรูปแบบจะแสดงอยู่ใน Panel ของ Layout การปรับแต่งจะอยู่ใน Property

Marker Label Styles
 
Marker label styles รูปแบบแสดงระยะออฟเซทของรหัสของจุดชุดประกอบโครงสร้างถนนและค่าระดับ  ( Subassembly’s point code offset and elevation)

    
 
  Link Label Styles 
 
   Link Label Styles รูปแบบของตัวเชื่อมชุดประกอบโครงสร้างถนนแสดงความลาดเอียงคันทาง (Crown slope)
 
     
 
Shape Label Styles
 
     Shape label style อธิบายของส่วนความหมายส่วนประกอบโครงสร้างถนน
 
      

ทั้งหมดนี้เป็นการจัดรูปแบบที่จะให้แสดงรายระเอียดในรูปหน้าตัด

6/12/2013

CREATING ROAD SECTIONS Part 3

  SHEET SIZE STYLE

     Sheet Size Style เป็นรูปแบบการตั้งค่าพิมพ์งานของกระดาษที่ใช้ที่ต้องการกำหนดขอบกระดาษซึ่งจะมีผลกับการใช้งานของการควบคุมเครื่อง Plotter

     การตั้งค่าขอบกระดาษที่พื้นที่ให้มีพื้นที่ว่างโดยของกระดาษขนาดต่างๆ วิธีการทั่วไปของการใช้งาน AutoCad จะได้จากการตั้ง Page Setups ใน Layout เพื่อให้ได้ขนาดกระดาษและมาตราส่วนตามต้องการ แต่เมื่อนำมาใช้กับงานของ  Civil 3D อาจจะสับสนกับรูปที่ได้ใน View Port ไม่สามารถควบคุมขนาดของวัตถุและขนาดของตัวหนังสือต่างๆ ซึ่งจะแสดงออกมาลักษณะขนาดใหญ่และปรับขนาดไม่ได้ตามต้องการ ซึ่งแท้จริงแล้วการทำลักษณะนี้สามารถทำได้ถ้าได้ความเข้าใจกับการปรับความกว้างยาวของกระดาษที่ใช้กับงานพิมพ์ สามารถที่จะปรับลดขนาดให้ได้ตามมาตราส่วนเหมือนกับการใช้งาน AotoCad Version ทั่วไป

                         
 
     กระดาษที่มีการตั้งค่าตรงขอบที่ล้อมรอบเป็นกรอบในแต่ละขนาดของกระดาษ ผนังทางด้านซ้ายจะหาขนาดตารางตามแนวนอนและแนวตั้งของพื้นที่ที่จะพิมพ์ ซึ่งตารางกริดจะเป็นตัวกำหนดช่วงความห่างของ Section ในแนวนอนและแนวตั้ง
     การตั้งค่ากระดาษของแผ่นงานใน Layout จะอ้างถึง Default Model การตั้งค่าจะต้องตั้งให้ได้ขนาดเดียวกัน อย่างการตั้งค่ากระดาษแผ่นงานขนาด A1 ใน Model space ในLayouts จะต้องตั้งให้สัมพันธ์เป็นขนาด A1 ด้วยเช่นเดียวกัน

              

Plot All
    
     การตั้งค่างานพิมพ์ทั้งหมดของรูปหน้าตัดตามที่ได้กล่าวมาแล้วในแบบการวางตัวเป็นแถวตามลำดับ ในการตั้งค่าแบบ Group Plot Styles

              

SECTION VIEW BAND SET

    การสร้างรูปหน้าตัดของ Section View ซึ่งโดยปกติในแถบด้านล่างจะแสดงเฉพาะออฟเซท ในบางครั้งจะตั้งค่า View Band Set เพิ่มเข้ามาให้แสดงระดับดินเดิม (EG,Existing) ค่าระดับออกแบบ (FG,Finish grade or Top of Corridor) ที่ได้มาจากการสร้าง Surface ถ้ามีการเลือกใช้ระดับของพื้นผิว(Surface) ที่จะต้องเลือกใช้คำสั่งการสร้างแถบด้านล่าง Create Section View หรือ Create Multiple Section View ดังที่กล่าวมาแล้ว

ERASING EXISTING SECTION VIEWS
    
      ในการลบข้อมูลการสร้างรูปหน้าตัดที่ได้สร้างไว้แล้วเมื่อข้อมูลไม่ถูกต้องตามต้องการและต้องการจะสร้าง Section View ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง การสร้างเส้น Sampling ใน  Section Line Groups’ property อีกครั้งการใช้คำสั่ง Undo กลับมาเป็นอีกแนวทางที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการสร้าง Section View

CREATE SECTION SHEETS
    
      การสร้าง Section Sheets ของรูปหน้าตัดขั้นแรกในการสร้าง Section View จะต้องใช้รูปแบบในการสร้าง Plot all section ซึงหลังจากสร้าง Section View จะใช้คำสั่งจาก Create Section Sheets เพื่อที่จะนำแผ่นงานที่ออกแบบไว้แล้วใน Plan Production มาใช้งานซึ่งรูปแบบเหมือนกับแผ่นงานของ Plan & Profile ที่จะมีการกำหนดขอบกระดาษ มาตราส่วน Title box ของแผ่นงานรูปหน้าตัดที่สร้างไว้มาครอบ Section View ในช่อง View port และส่วนอื่นจะปรากฎให้เห็นได้ใน Layouts 

Create section sheets 


1. Output tab > Plan Production panel > Create Section Sheets.
2. ใน Create Section Sheets dialog box, เลือกตั้งค่าเบื้องต้น Parameters
    • Select Alignment: Centerline -
    • Sample Line Group Name -
    • Select Section View Group: Section View Group -
3. Layout Name, สามารถใช้ค่าใน Default
4. Sheet Set Storage Location, เลือก Directory ที่จะเก็บแฟ้มงาน
5. Click Create Sheets.
6. Saved, click OK
7.เมื่อ Save และ OK การสร้าง Section Sheet แล้วเสร็จสมบูรณ์
      o    Section Sheet ถูกสร้างขึ้นใน Layouts
      o    ข้อมูล Sheet set ใน Database
      o    หน้าต่างของ Sheet Set Manager  เปิดขึ้นมา


        

แผ่นงานที่ได้จากการสร้าง Sheet Set Manager